วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559

โปรตีน

  โปรตีน

   


    โปรตีน    เป็นสารที่พบมากที่สุดในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปในเซลล์ของพืชและสัตว์มีโปรตีนอยู่มากกว่าร้อยละ 50 ของน้ำหนักแห้ง  โปรตีนเป็นสารชีวโมเลกุลที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่และมีโครงสร้างที่ซับซ้อน  ประกอบด้วยธาตุต่าง ๆ คือ  ธาตุคาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H)  ไนโตรเจน (N)  และในบางชนิดอาจมีกำมะถัน (S) และฟอสฟอรัส (P)  เป็นองค์ประกอบร่วมด้วย โปรตีนในร่างกายนอกจากจะมีบทบาทในการเผาผลาญให้พลังงานแก่ร่างกายแล้ว ยังช่วยในการเจริญเติบโต เป็นส่วนประกอบของกล้ามเนื้อ ยังช่วยในการเจริญเติบโต  เป็นส่วนประกอบของกล้ามเนื้อ และช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์และฮอร์โมนต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมระบบต่างๆ ในร่างกายให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

        โปรตีนเป็นสารอาหารที่พบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดทั้งที่เป็นพืชและสัตว์  โดยจะพบมากในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ต่างๆ เช่น เนื้อปลา เนื้อหมู ไข่ นม เนยจากสัตว์  เป็นต้น ส่วนในพืชจะพบมากในเมล็ดพืชตระกูลถั่วเช่น ถั่วลิสง ถั่วเหลือง  เป็นต้น
 

 


            สมบัติของโปรตีน
  1. สารชีวโมเลกุลประเภทโปรตีนมีสมบัติและความสามารถในการเกิดปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ ดังนี้
  2. โปรตีนไม่ละลายน้ำ  แต่อาจมีบางชนิดที่สามารถละลายน้ำได้บ้างเล็กน้อย
  3. มีสถานะเป็นของแข็ง
  4. เมื่อถูกเผาไหม้จะมีกลิ่นเหม็น
  5. สามารถเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส (Hydrolysis) โดยมีกรด  ความร้อน  หรือเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา  ทำให้เกิดเป็นกรดอะมิโนจำนวนมาก
                                                           
    โปรตีน + น้ำ  -----------> กรด + กรดอะมิโนจำนวนมาก
ุ         6. เมื่อโปรตีนได้รับความร้อน  หรือเมื่อสัมผัสกับสารละลายกรด  หรือสารละลายเบส  จะทำให้โครงสร้างของโปรตีนเสีย              ไป  ไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิม  เรียกกระบวนการนี้ว่า  การแปลงสภาพโปรตีน  (denaturation of protein)
         7. โปรตีนสามารถเกิดปฏิกิริยากับคอปเปอร์ (II) -ซัลเฟต  (CuSO4) ในสภาพที่เป็นเบส เกิดเป็นตะกอนสีม่วง  สีม่วง                 อมชมพู หรือสีน้ำเงิน ซึ่งปฏิกิริยานี้สามารถใช้ในการทดสอบโปรตีนได้

    
                    หน้าที่
            โปรตีนหลายชนิดทำหน้าที่เป็นเอนไซม์หรือหน่วยย่อยของเอนไซม์
  1. โปรตีนทำหน้าที่ทางด้านโครงสร้าง เช่น ระบบเส้นใยของเซลล์ (cytoskeleton) ผม เส้นไหม
  2. โปรตีนที่ควบคุมการเคลื่อนไหว เช่น แอกติน ไมโอซิน
  3. เป็นภูมิคุ้มกันคอยปกป้องร่างกายจากสิ่งแวดล้อม เช่น แอนติบอดี
  4. ขนส่งสารภายในระบบร่างกาย เช่น ฮีโมโกลบิน
  5. เป็นแหล่งสำรองพลังงานยามขาดแคลน เช่นโปรตีนในเมล็ดข้าวและน้ำนม
  6. โปรตีนที่เป็นฮอร์โมน
  7. โปรตีนให้ความหวานในพืช
  8. โปรตีนป้องกันการแข็งตัวของเลือดในปลาที่อยู่ในแถบขั้วโลก
  9. โปรตีนช่วยสร้างเซลล์เนื้อเยื่อใหม

                                                                                                                                  
                  องค์ประกอบของโปรตีน
 
    โปรตีนเป็นสารประกอบที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่  เกิดจากโมเลกุลของกรดอะมิโน  (amino acid)  จำนวนมากมาสร้างพันธะเชื่อมต่อกันจนเกิดเป็นสายยาว  โดยกรดอะมิโนมีลักษณะเป็นสารชีวโมเลกุลซึ่งประกอบด้วยหมู่ฟังก์ชันทั้งที่เป็นหมู่อะมิโน (-NH2) มีสมบัติเป็นเบส  และหมู่คาร์บอกซิล (-COOH)  ซึ่งมีสมบัติเป็นกรด
    กรดอะมิโนต่าง ๆ จะมีการสร้างพันธะเชื่อมต่อกันเป็นสายยาวจนเกิดเป็นโมเลกุลของกรดอะมิโนต่าง ๆ ว่า พันธะเพปไทด์ (peptide bond)  ซึ่งเป็นพันธะที่เกิดขึ้นระหว่างหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโนของกรดอะมิโนแต่ละโมเลกุล 
    เนื่องจากโปรตีนเกิดจากกรดอะมิโนจำนวนมากมาเชื่อมต่อกัน ดังนั้นสมบัติของโปรตีนจึงมีความสัมพันธ์กับชนิดของกรดอะมิโนที่เป็นองค์ประกอบ  สัดส่วนของกรดอะมิโนแต่ละชนิด  และลำดับการเรียงตัวของกรด  ซึ่งโปรตีนในธรรมชาติมีกรดอะมิโนอยู่ 20 ชนิด  ดังนั้นจึงสามารถเกิดเป็นโปรตีนชนิดต่าง ๆ มากมาย  โดยโปรตีนที่แตกต่างกันก็จะมีคุณสมบัติและบทบาทต่อร่างกายที่แตกต่างกันด้วย


     
               โครงสร้างของโปรตีน
 
                    ลำดับของกรดอะมิโนจะเป็นตัวกำหนดโครงสร้างและการทำงานของโปรตีนนั้นๆ โดยทั่วไป โปรตีนมีโครงสร้างสามมิติสี่ระดับด้วยกันคือ
  • โครงสร้างปฐมภูมิ เป็นโครงสร้างที่แสดงพันธะระหว่างกรดอะมิโนแต่ละตัว
  • โครงสร้างทุติยภูมิ เป็นโครงสร้างที่แสดงการจัดเรียงตัวของกรดอะมิโนที่อยู่ใกล้กัน โปรตีนทุกชนิดจะมีโครงสร้างระดับนี้ โดยทั่วไปมีสองแบบคือ แบบ อัลฟาเฮลิก สายเพปไทด์ขดเป็นเกลียว กับแบบเบตา สายเพปไทด์อยู่ในรูปซิกแซก
  • โครงสร้างตติยภูมิ แสดงการจัดตัวของกรดอะมิโนตลอดทั้งสาย พบในโปรตีนที่เป็นก้อน การจับตัวเป็นกลุ่มก้อนของสายโพลีเพปไทด์นั้นขึ้นกับลำดับกรดอะมิโนและสารอื่นๆที่เข้ามาจับ
  • โครงสร้างจตุยภูมิ แสดงการจับตัวระหว่างสายโพลีเพปไทด์ พบในโปรตีนที่ประกอบด้วยหน่วยย่อย (subunit) โดยแต่ละหน่วยย่อยคือสายโพลีเพปไทด์หนึ่งเส้น การจัดตัวขึ้นกับลำดับกรดอะมิโนและสารอื่นๆที่เข้ามาจับเช่นเดียวกัน



 


        
            กรดอะมิโน

                เมื่อเราบริโภคอาหารที่มีโปรตีน โปรตีนเหล่านั้นจะถูกย่อยสลายจนกระทั่งกลายเป็นกรดอะมิโน  แล้วถูกดูดซึมเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย  เพื่อนำไปสังเคราะห์โปรตีนที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย  ดังนั้นกรดอะมิโนทุกชนิดจึงมีความจำเป็นต่อร่างกายอย่างยิ่ง  แต่เนื่องจากร่างกายของเราสามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนได้เอง 12 ชนิด  ส่วนอีก ชนิดเป็นกรดอะมิโนที่ต้องได้รับจากอาหาร  ดังนั้นจึงสามารถแบ่งชนิดกรดอะมิโนได้เป็น ชนิด ตามความจำเป็นในการบริโภค  ดังนี้
                
    1)  
กรดอะมิโนจำเป็น  (Essential amino acids) เป็นกลุ่มของกรดอะมิโนที่ร่างกายสังเคราะห์เองไม่ได้  มีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย  จำเป็นต้องได้รับจากอาหารต่าง ๆ ได้แก่  
 
  • เทไทโอนีน (Methionine) 
  • ทริโอนีน (Threonine)
  •  ไลซีน (Lysine)                                                                                                                                                             
  •                                         
     เวลีน (Valine)
  •  ลิวซีน (Leucine)
  •  ไอโซลิวซีน (Isoleucine) 
  • เฟนิลอะลานีน (Phenylalanine)  ทริปโตเฟน (Tryptophan)
    ส่วนในเด็กทารกจะต้องการรับกรดอะมิโนเพิ่มอีก ชนิด  คือ  ฮิสติดีน (Histidine)  เพื่อช่วยในการเจริญเติบโต
                    2)  กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น  (Non-essential amino acids)  เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสังเคราะห์เองได้  มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย  ร่างกายไม่ค่อยคลาดแคลน
       
ร่างกายของคนเราจะนำกรดอะมิโนต่าง ๆ มาใช้สังเคราะห์เป็นโปรตีนซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไปตามบทบาทหน้าที่ของโปรตีนชนิดนั้น  ดังตัวอย่างเช่น
   -  
คอลลาเจน  (Collagen)  เป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับระบบโครงสร้างร่างกาย  มีหน้าที่ในการสร้างเอ็นและกระดูกอ่อน
   -  
เคราติน (Keratin)  เป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับระบบโครงสร้างร่างกาย  มีหน้าที่ในการสร้างขน  ผม  เล็บ  และผิวหนัง
   -  
อินซูลิน (Insulin)  เป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับระบบฮอร์โมน  มีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด
   -  
แอคติน  (Actin)  และไมโอซิน (Myosin)  เป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับระบบการเคลื่อนไหวของร่างกาย  มีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ
  -  
ฮีโมโกลบิน  (Hemoglobin)  เป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับระบบการลำเลียงสารในกระแสเลือด  มีหน้าที่ลำเลียงแก๊สออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย
  -  
อิมมูโนโกลบูลิน  (Immunoglobulin)  เป็นโปรตีนที่เกี่ยวกับระบบคุ้มกันของร่างกาย  มีหน้าที่การสร้างภูมิคุ้มกัน


        โปรตีนคอนจูเกต
 
                โปรตีนบางชนิดจะมีหมู่อื่นๆนอกจากกรดอะมิโนเข้ามาจับ โปรตีนนี้เรียกว่าโปรตีนคอนจูเกต (conjugated protein) ส่วนหมู่ที่มาจับเรียกว่าหมู่พรอสทีติก (prosthetic group) ตัวอย่างโปรตีนเหล่านี้ได้แก่
  1. ไลโปโปรตีน โปรตีนจับกับไขมัน
  2. ไกลโคโปรตีน โปรตีนจับกับคาร์โบไฮเดรต
  3. ฟอสโฟโปรตีน โปรตีนจับกับหมู่ฟอสเฟต
  4. ฮีโมโปรตีน โปรตีนจับกับฮีม (heme)
  5. ฟลาโวโปรตีน โปรตีนจับกับฟลาวิน นิวคลีโอไทด์ (Flavin nucleotide) เช่น ซักซิเนต ดีไฮโดรจีเนส (succinate dehydrogenase)
  6. เมทัลโลโปรตีน โปรตีนจับกับโลหะเช่น เฟอร์ริทิน (จับกับ Fe) อัลกอฮอล์ ดีไฮโดรจีเนส (จับกับ Zn) เป็นต้น
 
 บทบาทและหน้าที่ของโปรตีน
 
                    1. ให้กรดแอมิโน ซึ่งร่างกายจะนำไปสร้างโปรตีนในเซลล์และเนื้อเยื่อต่าง ๆ ตลอดชีวิต
                    2. สร้างสารที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย ได้แก่ เอนไซม์ ฮอร์โมน และสารภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะช่วยควบคุมปฏิกิริยาต่าง ๆ ให้ดำเนินไปตามปกติ
                    3. รักษาสภาพแวดล้อมภายในร่างกายให้คงที่ เช่น ค่าความเป็นกรด–ด่าง (pH) โดยโปรตีนในเลือดจะช่วยให้เลือดมี pH คงที่หรือเป็นด่างเล็กน้อย ซึ่งเป็นสภาพที่เหมาะแก่การทำงานของอวัยวะ อีกทั้งยังช่วยรักษาสมดุลของน้ำในร่างกายและควบคุมความเข้มข้นของเลือดและน้ำให้คงที่
                    4. ให้พลังงานแก่ร่างกาย (โปรตีน 1 กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี) เมื่อร่างกายได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตและไขมันไม่เพียงพอ จะมีการนำโปรตีนที่สมสะอยู่ในกล้ามเนื้อมาผลาญให้เกิดพลังงาน
                    5. ช่วยในการขนส่งสารต่าง ๆ ในเลือด เช่น ฮอร์โมน วิตามิน ไขมัน และเกลือแร่ เป็นต้น
บทบาทและหน้าที่ของโปรตีนยังมีอีกหลายประการ เช่น เป็นส่วนประกอบของเฮโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่นำออกซิเจนไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นส่วนประกอบของไมโอซิน (myosin) และแอกทิน (actin) ในกล้ามเนื้อ โดยมีสภาพเป็นโปรตีนขนาดเล็กเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อ
 
ขอบคุณที่มา :https://sites.google.com/site/scienceinging/bth-thi-2-sar-xinthriy/2-2-portin?tmpl=%2Fsystem%2Fapp%2Ftemplates%2Fprint%2F&showPrintDialog=1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น