วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559

เกลือแร่หรือแร่ธาตุ

    เกลือแร่หรือแร่ธาตุ (mineral) ลักษณะหน้าที่เด่นเฉพาะของสารอาหารนี้คือ ทำหน้าที่เป็นตัวเสริม , ทำหน้าที่เป็นตัวควบคุม และทำหน้าที่เป็นตัวเร่งให้เกิดการทำงานของปฏิกิริยาทางเคมีภายในเซลล์ ตัวอย่างเช่น เกลือแร่แคลเซียม และฟอสฟอรัสเป็นสารที่ร่างกายต้องใช้สร้างกระดูกและฟัน เกลือแร่บางตัวทำให้เกิดความสมดุลของความเป็นกรดและด่างภายในร่างกาย บางตัวเกี่ยวข้องกับการสร้างเม็ดเลือด บางตัวก็มีส่วนสำคัญที่ร่างกายใช้ประกอบในการสังเคราะห์ฮอร์โมน สารอาหารเกลือแร่มีอยู่ประมาณ 21 ชนิดที่สำคัญต่อร่างกาย เกลือแร่ที่ร่างกายต้องการมากคือ แคลเซียม ซึ่งแคลเซียมเป็นส่วนประกอบของกระดูก , ฟัน , กล้ามเนื้อ , และในระบบเลือด เกลือแร่ประเภทอื่นที่ร่างกายต้องการนอกเหนือจากแคลเซียม ได้แก่ โซเดียม , โพแทสเซียม , ฟอสฟอรัส , แมกนีเซียม , คลอไรท์ , เหล็ก , ไอโอดีน , ทองแดง , สังกะสี , ฟลูออไรท์ เป็นต้น แต่ละชนิดจะมีหน้าที่ต่างกัน ถ้าขาดก็จะมีผลเสียต่อร่างกาย ด้วยเหตุนี้ร่างกายจึงขาดเกลือแร่ไม่ได้ อาหารที่ให้สารอาหารเกลือแร่คืออาหารหมู่ 3 และหมู่ 4

แหล่งที่มา : http://www.oknation.net/blog/pim

ตาราง แสดงแหล่งอาหาร ความสำคัญและผลของการขาดแร่ธาตุบางชนิด

แร่ธาตุ
แหล่งอาหาร
ความสำคัญ
ผลจากการขาด
แคลเซียม
นม  เนื้อ ไข่ ผักสีเขียวเข้ม
สัตว์ที่กินทั้งเปลือกและกระดูก เช่น กุ้งแห้ง ปลา
เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกระดูกและฟัน ช่วยในการแข็งตัวของเลือด  ช่วยในการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อ
เด็กเจริญเติบโตไม่เต็มที่    ในหญิงมีครรภ์จะทำให้ฟันผุ
ฟอสฟอรัส
นม เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว
ผักบางชนิด เช่น เห็ดมะเขือเทศ
ช่วยในการสร้างกระดูกและฟัน
การดูดซึมคาร์โบไฮเดรต
การสร้างเซลล์ประสาท
อ่อนเพลีย
กระดูกเปราะและแตกง่าย
ฟลูออรีน
ชา อาหารทะเล
เป็นส่วนประกอบของสารเคลือบฟัน  ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ป้องกันฟันผุ
ฟันผุง่าย
แมกนีเซียม
อาหารทะเล
ถั่ว นม ผักสีเขียว
เป็นส่วนประกอบของเลือด และกระดูก ช่วยในการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
เกิดความผิดปกติของระบบ
ประสาทและกล้ามเนื้อ
โซเดียม
เกลือแกง ไข่ นม
ควบคุมปริมาณน้ำในเซลล์
ให้คงที่
เกิดอาการคลื่นไส้
เบื่ออาหาร ความดันเลือดต่ำ
เหล็ก
ตับ เนื้อสัตว์ ถั่ว ไข่
ผักสีเขียว
เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์บางชนิดและฮีโมโกลบิน
ในเม็ดเลือดแดง
โลหิตจาง  อ่อนเพลีย
ไอโอดีน
อาหารทะเล  เกลือสมุทร
เกลือเสริมไอโอดีน
เป็นส่วนประกอบของฮอร์โมนไทรอกซิน ซึ่งผลิตจาก
ต่อมไทรอยด์
ในเด็กทำให้สติปัญญาเสื่อม  ร่างกายแคระแกรน ในผู้ใหญ่
จะทำให้เป็นโรคคอพอก

แหล่งที่มา : http://secondsci.ipst.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=104:2010-10-27-03-55-57&catid=19:2009-05-04-05-01-56&Itemid=34

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น