วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559

อาหาร

ความหมายของอาหาร 

       อาหาร หมายถึง สิ่งที่เรารับประทานเข้าไปแล้วทำให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายในด้าน ต่างๆ ไม่ทำให้เกิดโทษ เช่น เนื้อสัตว์ ข้าว แป้ง ผัก ผลไม้ นม ฯลฯ ยกเว้นยารักษาโรค

ความหมายของอาหาร ( มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 ) 


     อาหาร คือ วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม ดม หรือนำเข้าสู่ร่างกายด้วยวิธีการใดๆ หรือรูปลักษณะใดๆ แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท หรือเสพย์ติดให้โทษตามกฎหมาย
     อาหาร คือ วัตถุประสงค์ที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารรวมถึงวัตถุเจือปนอาหาร สีและเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส




        สารอาหาร หมายถึง สารที่ได้รับจากอาหาร ที่รับประทานเข้าไปในร่างกายแล้ว จะนำไปใช้ประโยชน์ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ให้พลังงานในการดำรงชีวิต เป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อในส่วนต่างๆของ ร่างกาย

การจำแนกสารอาหารตามหลักโภชนาการ สามารถแบ่งได้เป็น 5 หมู่ คือ

    อาหารหมู่ที่ 1 กลุ่มโปรตีน ได้แก่ อาหารจำพวก เนื้อ นม ไข่ ถั่วเมล็ดต่างๆ อาหารในหมู่นี้จะมีสารโปรตีนสูง เมื่อร่างกายย่อยแล้วจะให้สารอาหารประเภทโปรตีน ซึ่งให้ประโยชน์ต่อร่างกายในด้านการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยสร้างเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย ให้พลังงาน และช่วยควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย ในแต่ละวันมนุษย์เราต้องการสารโปรตีนในปริมาณ 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม


    อาหารหมู่ที่ 2 กลุ่มคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ อาหารจำพวกแป้ง เผือก มัน น้ำตาล อาหารหมู่นี้เมื่อร่างกายย่อยแล้วจะให้สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต และเปลี่ยนสารคาร์โบไฮเดรตให้เป็นพลังงานที่ใช้ทำกิจกรรมต่างๆ และให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย


    อาหารหมู่ที่ 3 กลุ่มเกลือแร่หรือแร่ธาตุต่างๆ ได้แก่ อาหารจำพวกผักใบเขียว และพืชผักอื่นๆ แร่ธาตุเป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการและขาดไม่ได้ เพราะแร่ธาตุบางชนิดเป็นส่วนประกอบของอวัยวะและกล้ามเนื้อบางอย่าง เช่น กระดูก ฟัน เลือด บางชนิดเป็นส่วนของสารต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตในร่างกาย เช่น ฮอร์โมน เฮโมโกลบิน เอนไซม์ ฯลฯ นอกจากนี้ แร่ธาตุยังช่วยในการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ของร่างกายให้ทำหน้าที่ปกติ เช่น ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท การแข็งตัวของเลือด ช่วยควบคุมสมดุลของน้ำในการไหลเวียนของของเหลวในร่างกาย ที่สำคัญช่วยให้ระบบการย่อยและการขับถ่ายเป็นปกติ

    อาหารในหมู่นี้มีในพืช ผัก ชนิดต่างๆ ทั้งผักใบเขียว และสีต่างๆ เช่น สีแดง สีเหลือง สีม่วง สีขาว ฯลฯ ซึ่งมีทั้งพืชผักที่เรารับประทาน ใบ ดอก ผล ลำต้น หัว หรือ รับประทานได้ทุกส่วน ซึ่งจะให้คุณค่าอาหารที่แตกต่างกัน เช่น ผักตำลึง ดอกแค ฟักทอง แครอท ฯลฯ

    อาหารหมู่ที่ 4 กลุ่มวิตามิน ได้แก่ อาหารจำพวกผลไม้ต่างๆ อาหารหมู่นี้เมื่อร่างกายย่อยแล้วจะให้สารอาหารประเภทเกลือแร่และวิตามิน คล้ายกับอาหารหลักหมู่ที่ 3 ซึ่งให้ประโยชน์ต่อร่างกายในด้านบำรุงสุขภาพของผิวหนังให้สดชื่น บำรุงสุขภาพปาก เหงือก และฟัน ช่วยให้ระบบการย่อยและการขับถ่ายเป็นปกติ อาหารในหมู่นี้นอกจากจะให้วิตามิน เกลือแร่ แล้วยังให้กากใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่ายที่เป็นปกติ ทำให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้ตามปกติ


    อาหารหมู่ที่ 5 กลุ่มไขมัน ได้แก่ อาหารจำพวกไขมันจากพืชและสัตว์ เช่น นม เนย ชีส น้ำมันพืช น้ำมันหมู เมื่อร่างกายได้รับไขมันที่กินเข้าไปแล้วจะเปลี่ยนให้เป็นพลังงาน ไขมันทำหน้าที่ให้ความอบอุ่นและเป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย ถ้าเรารับประทานแต่พอดี จะทำให้ระบบการทำงานภายในเป็นปกติ ไขมันยังช่วยปกป้องเซลล์และห่อหุ้มอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะจะห่อหุ้มเส้นประสาทช่วยในการป้องกันเส้นประสาทให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    นอกจากนี้ แล้วไขมันยังทำหน้าที่เป็นตัวทำละลายวิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค ที่ร่างกายรับจากอาหาร ไขมันเป็นอาหารที่ย่อยยาก ร่างกายจะต้องใช้เวลาในการย่อยสลายนานกว่าอาหารกลุ่มอื่นๆ ร่างกายของมนุษย์เราต้องการไขมันวันละไม่มากในปริมาณที่แตกต่างกันไปตามวัย


การ แบ่งสารอาหารโดยใช้เกณฑ์การให้พลังงานของสารอาหาร จะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

  • กลุ่มสารอาหารที่ให้พลังงาน ได้แก่ คาร์โบไฮเดรท โปรตีน และไขมัน
  • กลุ่มสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน ได้แก่ เกลือแร่ และ วิตามิน
     สารอาหาร คือ “ องค์ประกอบของสารประกอบทางเคมีของธาตุต่างๆ ที่มีอยู่ในอาหารที่เรากินเข้าไป สารอาหารมีโครงสร้างโมเลกุลเฉพาะตัว เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อาหารแต่ละชนิดประกอบด้วยโมเลกุลของสารอาหารหลายๆ ตัว ” ร่างกายเราต้องการสารอาหารกว่า 40 ชนิด และเพื่อให้ง่ายอีกเช่นกัน เราจึงจัดเป็นสารอาหารออกเป็นพวกๆ ที่สำคัญมี 6 จำพวก ได้แก่ สารอาหาร คาร์โบไฮเดรท , โปรตีน , ไขมัน , วิตามิน , เกลือแร่ , และน้ำ สารอาหารแต่ละชนิดมีหน้าที่เด่นเฉพาะแตกต่างกัน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น