วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559

วิตามิน

วิตามินสำหรับร่างกายมีหลายประเภทแต่ละประเภทก็ให้ประโยชน์แตกต่างกันไป
   วิตามิน เป็นช่วยให้ระบบการทำงานของร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารต่าง ๆ ได้ง่ายแล้วและระบบการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ สำหรับประโยชน์ที่ ร่างกายจะได้รับในด้านบำรุงผิวพรรณ ความสวยงามมีอยู่มากมาย เช่น วิตามินช่วยรักษาสมดุลในร่างกาย ช่วยในการสร้างเม็ดเลือด


วิตามินแบ่งได้เป็น 2  ประเภทคือ

    1. วิตามินที่ละลายในน้ำได้ ได้แก่ วิตามินซี,บี
   2. วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามิน เอ,ดี, อี, เค

วิตามินแต่ละตัวมีประโยชน์และความจำเป็นอย่างไร

วิตามินที่สามารถละลายในน้ำได้
      
                   วิตามินซี มี ความจำเป็นกับร่างกาย ช่วยเส่ริมสร้างเนื้อเยื่อต่าง ๆ รักษาบาดแผล สร้างภูมิคุ้มกันโรค หากได้รับวิตามินซีในปริมาณที่เหมาะสม จะทำให้ปลอดจากโรคเครียด ช่วยให้ผิวสดใส ไม่หมองคล้ำ รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน วิตามินได้จากอะไรบ้าง เช่น คะน้า ผักโขม มะเขือเทศ สับปะรด มะนาว มะขาม สะเดา มะขามป้อม ส้ม พริก เป็นต้น
        

               วิตามินบี ที่สำคัญมี 5 ชนิด คือ
      
                  วิตามินบี 1 มี ประโยชน์ต่อร่างกาย ป้องกันโรคเหน็บชา ช่วยการทำงานของระบบย่อยอาหารป้องกันการท้องอืด ยังช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกายอีกด้วย ได้จากอาหารจำพวกข้าวซ้อมมือ ตับ เนื้อหมู ไข่แดง ยีสต์ และถั่วต่าง ๆ
                   วิตามินบี 2 มี ประโยชน์ต่อร่างกาย การทำงานของระบบประสาทตา ช่วยในการทำงานของระบบหายใจ และช่วยให้ผิวพรรณผ่องใสอีกด้วย อาการบางอย่าง ที่ชี้ว่าคุณกำลังขาดวิตามินบี 2 อยู่ เช่น ลิ้นของคุณมีอาการบวมแดง,เจ็บที่มุมปาก เกิดรอยแผลที่เรียกว่า ปากนกกระจอก สามารถได้รับการทานอาหารจำพวก ไข่ ถั่วต่าง ๆ เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนมและยีสต์
                  วิตามินบี 5  ประโยชน์ ที่มีต่อร่างกาย ช่วยในการทำงานของระบบผิวหนัง ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร และระบบหายใจ อาการที่บ่งบอกว่า ขาดวิตามินบี 5 อยู่ เช่น อาการความจำเสื่อม ไม่กระตือรือร้นในชีวิต ที่เรียกว่าเชื่องช้า ซึ่งเป็นผลมาจากระบบสมองนั้นทำงานเหนื่อย  สังเกตุได้อีกอย่างคือ อาการของการเบื่ออาหาร  ถ้าขาดวิตามินนี้มากผิวหนังขึ้นผื่นแดง และทำให้สีผิวคล้ำได้ในที่สุด สามารถได้รับการรับประทานอาหารจำพวก ไข่  ถั่วต่าง ๆ เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนมและยีสต์
                  วิตามินบี 6 ที่ มีประโยชน์ต่อร่างกายในขบวนการสังเคราะห์ฮีม ส่วนประกอบของฮีโมโกบิน ช่วยในกระบวนการสังเคราะห์กรดอะมิโนซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อระบบการทำงานของ ร่างกาย อาการที่ทำให้คุณทราบว่า ขณะนี้กำลังขาดวิตามินบี 6 เช่น อาการเกี่ยวกับโรคที่เกี่ยวกับเม็ดเลือด สังเกตุได้จากผิวหนังที่มีอาการบวมแดง การทำงานที่ต้องใช้สมองคิดมาก ๆ จะช้าลง คุณสามารถรับวิตามินได้จากการทานอาหารจำพวก ไข่ ถั่วต่าง ๆ เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนมและยีสต์
                   วิตามินบี 12 ที่ มีประโยชน์ต่อร่างกายเช่น ช่วยในการสังเคราะห์ DNA สร้างเม็ดเลือดแดง ตัวช่วยสังเคราะห์โปรตีนในร่างกาย อาการบางอย่างที่แสดงให้เห็นว่าคุณขาดวิตามินนี้คือ อาการของโรคโลหิตจาง เกิดจากความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง ระบบประสาทผิดปกติ สามารถรับวิตามินนี้ได้จากการทานอาหารจำพวก ไข่ ถั่วต่าง ๆ เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนมและยีสต์

วิตามินที่สามารถละลายในไขมัน


               วิตามิน A เป็นวิตามินที่สามารถละลายได้ในไขมัน มีอยู่ 2 ลักษณะคือ

               เรตินอน พบมากในเนื้อสัตว์ ประโยชน์นั้นช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับความผิดปกติของสายตา
               เบตาคาโรทีน พบ มากในผัก ผลไม้ ที่มีสีเข้มส้มเหลืองแดงจัด เช่น คะน้า ฟักทอง แครอท เบตาคาโรทีนเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว เอนไซม์ คาโรติเนส ทำการดัดแปลงจากเบตาคาโรทีนให้กลายเป็นวิตามินเอ พบว่าประโยชน์เบตาคาโรทีนสามารถยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็ง ด้านความสวยงาม ขาดสารจำพวกวิตามินเอจะส่งผลทำให้ผิวพรรณไม่เปล่งปลั่ง ช่วยบำรุงผิว ร้ายแรงอาจถึงขั้นเหยื่อบุผิวหนังอักเสบได้ ระบบการทำงานของดวงตาก็จะมีปัญหาตามมาเช่นกัน หากทานมากไปมีผลทำให้ตัว เหลืองได้
              วิตามิน D นี้ หาได้ทั่วไป แค่คุณออกมายืนรับแสงแดดอ่อน ช่วง 6.00-7.40 น ช่วงเย็นประมาณ 16.00- 17.00 น.ช่วงเวลาดังกล่าวแสงแดดจะให้วิตามินดีกับร่างกาย หากพ้นช่วงนี้ไปแล้ว แสงแดดจะให้โทษกับผิวหนังมากกว่าให้คุณ นอกจากวิตามินดีจากแสงแดดแล้ว สามารถรับวิตามินดีได้จากอาหารต่าง ๆ เช่น น้ำมันตับปลา นม เนย ไข่แดง ประโยชน์ที่จะได้รับจากวิตามินดี คือ ช่วยการทำงานของซีเทรทในเลือด กระดูก ลำไส้เล็ก หัวใจ และไต ให้โครงสร้างของกระดูกและฟันแข็งแรง ทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส อาการบางอย่างที่แสดงว่ากำลังขาดวิตามินคือ ในช่วงเด็กเล็กมีอาการของกระดูกผิดรูป หากเป็นผู้ใหญ่จะปวดตามข้อกระดูก เป็นต้น
              วิตามิน E  ช่วย เกี่ยวกับเรื่องของผิวพรรณ ประโยชน์ของวิตามินอี คือ ช่วยป้องกันการแตกของเยื้อหุ้มเซลล์ อาการที่ทำให้คุณรู้ว่ากำลังขาดวิตามินอีอย่างรุนแรงคืน อาการปวดเมื่อยกล้ามเนี้อ กล้ามเนื้อลีบ โรคของโลหิตจาง เป็นต้น วิตามินอีนั้นมีอยู่มากในอาหารจำพวก น้ำมันรำ นม เนย ตับ น้ำมันถั่วเหลือง กระหล่ำดอก เป็นต้น
              วิตามิน K  คุณ ประโยชน์ คือ ช่วยในการแข็งตัวของเลือด อาการที่บ่งบอกว่ากำลังขาดวิตามินเค อยู่คือ เวลามีบาดแผลเลือดออกจะหยุดยากเพราะไม่มีวิตามินเคที่เป็นเกล็ดเลือดช่วย ห้ามเลือด สามารถได้รับวิตามินเคจากเนื้อสัตว์ ดอกกระหล่ำ กะหล่ำปลี ไข่แดง ตับ และถั่วต่าง ๆ
              

          การบริโภคที่สำคัญนอกจาก อาหาร ที่เป็นสิ่งจำเป็นต่อมนุษย์เราแล้วจะขาดเสียไม่ได้ เพราะหากขาดผลที่ตามมานั้นมากมาย ก็คือ น้ำ

             น้ำ คือ สิ่งสำคัญของร่างกาย  90 %ร่างกายคนประกอบไปด้วยน้ำ ช่วยหล่อเลี้ยงระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ช่วยหล่อลื่นสร้างความชุ่มชื้นให้กับผิวหนัง แต่ละวันร่างกายเราขับของเสียออกมาเป็นน้ำมาก ในรูปของเหงื่อ การขับถ่ายเราจึงจำเป็นต้องบริโภคน้ำให้ได้มากเท่าที่จะทำได้ เพื่อทดแทนส่วนที่สูญเสียไป ผู้ใหญ่ต้องการน้ำวันละ 6-8 แก้วเฉลี่ยประมาณ 3 ลิตร  ที่สำคัญถ้าได้มีการออกกำลังกายคุณควรดื่มน้ำเพิ่มอีก 3 แก้ว  ถ้าเกิดภาวะระดับน้ำในร่างกายที่ต่ำ อาจเกิด อาการ หน้ามือ เป็นลมขึ้นได้ ควรสร้างนิสัยในการดื่มน้ำให้มาก ๆ อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว ต่อวัน และน้ำเป็นน้ำสะอาดบริสุทธิ์ ไม่มีสิ่งเจือปน ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ใช่น้ำอัดลม น้ำหวาน กาแฟ เครื่องดื่มที่มีอัลกอฮอล์ คาเฟอีน เพราะเป็นสิ่งไม่เกิดประโยชน์แก่ร่างกาย น้ำยังช่วยชำระล้างของเสียออกจากไต ด้วย

 พืชผักสวนครัวหาง่าย


ขิง รสหวานเผ็ดร้อนจะช่วยขับเสมหะ โดยนำเอาส่วนเหง้าขิงแก่ฝนกับน้ำมะนาว หรือใช้เหง้าขิงสดตำผสมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาน้ำและเติม เกลือนิดหน่อย ใช้กวาดคอ หรือจิบบ่อยๆ หรือใช้ขิงแก่สดขนาดเท่าหัวแม่มือ ทุบให้แตกต้มกับน้ำให้เดือด จิบเวลาไอ

ดีปลี รสเผ็ดร้อนมีสรรพคุณช่วยขับเสมหะ ใช้ผลแก่ของดีปลีประมาณ 1/2-1 ผล ฝนกับน้ำมะนาว เติมเกลือนิดหน่อย กวาดลิ้นหรือจิบ บ่อยๆ

 เพกา เมล็ดเพกาเป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งใน "น้ำจับเลี้ยง" ของคนจีน ใช้ดื่มแก้ร้อนใน เมล็ดเพกามีสรรพคุณเป็นยาแก้ไอ และขับ เสมหะ โดยใช้เมล็ดเพกาประมาณ 1/2-1 กำมือ (หนัก 1.5-3 กรัม) ต้มกับน้ำประมาณ 300 มิลลิลิตร ตั้งไฟอ่อนๆ ต้มให้เดือดนานประมาณ 1 ชั่วโมง ใช้ดื่มเป็นยาวันละ 3 ครั้ง
มะขามป้อม ผลสดของมะขามป้อม มีรสเปรี้ยวอมฝาด มีสรรพคุณรักษาอาการไอ ช่วยขับเสมหะ โดยใช้เนื้อผลแก่สด 2-3 ผล โขลกให้แหลก เหยาะเกลือเล็กน้อย ใช้อมหรือเคี้ยววันละ 3-4 ครั้ง
มะขาม รสเปรี้ยวของมะขาม สามารถกัดเสมหะให้ละลายได้ เมื่อมีอาการไอ ระคายคอจากเสมหะ ให้ใช้เนื้อในฝักแก่ของมะขามเปรี้ยว หรือมะขามเปียก (ที่มีรสเปรี้ยว) จิ้มเกลือกินพอสมควร หรืออาจคั้นเป็นน้ำมะขามเหยาะเกลือเล็กน้อย ใช้จิบบ่อยๆ ก็ได้

มะนาว รสเปรี้ยวของน้ำมะนาว มีสรรพคุณแก้อาการไอ และขับเสมหะ โดยใช้ผลสดคั้นเอาแต่น้ำ จะได้น้ำมะนาวเข้มข้น และใส่เกลือเล็ก น้อยจิบบ่อยๆ หรือจะทำเป็นน้ำมะนาวใส่เกลือและน้ำตาล ปรุงให้มีรสจัด จิบบ่อยๆ ตลอดวัน หรือหั่นมะนาวขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย จิ้มเกลือ นิดหน่อย ใช้อมบ้างเคี้ยวบ้าง
มะแว้งเครือ รสขมของมะแว้ง มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไอ และกัดเสมหะ โดยใช้ผลแก่สดประมาณ 5-10 ผล โขลกพอแหลก คั้นเอาแต่น้ำ ใส่ เกลือ จิบบ่อยๆ หรือจะใช้ผลสดเคี้ยว แล้วกลืนทั้งน้ำและเนื้อ จนกว่าอาการจะดีขึ้นก็ได้

กิน...รักษาอาการ

การเลือกบริโภคก็มีส่วนช่วยบรรเทาอาการไอได้ แต่ต้องเป็นการกินที่ถูกวิธีและถูกสูตรด้วยนะคะ

1. กินกระเทียมอัดเม็ดครั้งละ 2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง

2. กินวิตามินเอ วิตามินบี และวิตามินซีเป็นประจำทุกวัน

3.อมลูกอมรสเมนทอล หรือชนิดอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการชา จะทำให้รู้สึกชุ่มคอ

4.ผสมน้ำส้มไซเดอร์ 1 ส่วน กับน้ำอุ่น 3 ส่วน เอาผ้าขนหนูชุบน้ำดังกล่าว แล้วพันรอบคอไว้ จะช่วยขับเสมหะ



บำบัดอาการด้วยน้ำมันหอม

น้ำมันหอมสำหรับบำบัดอาการไอ แต่ละกลิ่นก็เหมาะกับแต่ละคน ที่มีธาตุเจ้าเรือนต่างกันดังนี้ค่ะ

ธาตุเจ้าเรือนดิน ใช้ไพล ไม้จันทน์ มะลิ

ธาตุเจ้าเรือนน้ำ ใช้โหระพา กำยาน มะลิ

ธาตุเจ้าเรือนลม ใช้โหระพา เปปเปอร์มิ้นต์

ธาตุเจ้าเรือนไฟ ใช้โรสแมรี่ พิมเสน การบูร ทีทรี ยูคาลิปตัส ขิง

ธาตุเจ้าเรือนเป็นกลาง ใช้กุหลาบ


วิธีบำบัด

1.ใช้สูดดมโดยตรง หรือใช้หยดในน้ำร้อนแล้วสูดดม

2.ผสมน้ำมันหอมระเหย วาสลีน และขี้ผึ้งเข้าด้วยกัน แล้วทาที่บริเวณหน้าอก

3.หาก คัดจมูกมากจนหายใจไม่ออก บางทีการสูดดมอาจไม่ค่อยได้ผล ให้ใช้นิ้วถูข้างจมูกทั้งสองข้างให้ร้อน สั่งน้ำมูกออก แล้ว ค่อยสูดดมใหม่ หรือใช้การทานวดจะได้ผลมากกว่า

4.นำยูคาลิปตัส เปปเปอร์มิ้นต์ ลาเวนเดอร์ และไพล ผสมในอัตราส่วนเท่าๆ กัน ใช้สูดดมสูตรนี้ทำให้น้ำมูกลดลงทันที หายใจ สะดวกขึ้น

5.นำยูคาลิปตัส ไธม์ สน ไซเปรส และแซนดัลวูด ชนิดละ 2-3 หยด หยดลงในอ่างน้ำร้อน แล้วสูดดมไอน้ำประมาณ 10 นาที วันละ 2-3 ครั้ง จนกว่าอาการไอจะหายไป

6.ถ้าต้องการแก้อาการวิงเวียนหน้ามืด ให้เติมการบูร หรือพิมเสน ลงไปเล็กน้อยตามสูตรจากข้อ 4 หรืออาจทำเป็นยาดมพกติดตัว ไว้ เวลาเดินทางไกลๆ หากบังเอิญว่ามีใครไอ จาม ก็หยิบขึ้นมาดมป้องกันการติดเชื้อได้ค่ะ

นิตยสารชีวจิต159

เกลือแร่หรือแร่ธาตุ

    เกลือแร่หรือแร่ธาตุ (mineral) ลักษณะหน้าที่เด่นเฉพาะของสารอาหารนี้คือ ทำหน้าที่เป็นตัวเสริม , ทำหน้าที่เป็นตัวควบคุม และทำหน้าที่เป็นตัวเร่งให้เกิดการทำงานของปฏิกิริยาทางเคมีภายในเซลล์ ตัวอย่างเช่น เกลือแร่แคลเซียม และฟอสฟอรัสเป็นสารที่ร่างกายต้องใช้สร้างกระดูกและฟัน เกลือแร่บางตัวทำให้เกิดความสมดุลของความเป็นกรดและด่างภายในร่างกาย บางตัวเกี่ยวข้องกับการสร้างเม็ดเลือด บางตัวก็มีส่วนสำคัญที่ร่างกายใช้ประกอบในการสังเคราะห์ฮอร์โมน สารอาหารเกลือแร่มีอยู่ประมาณ 21 ชนิดที่สำคัญต่อร่างกาย เกลือแร่ที่ร่างกายต้องการมากคือ แคลเซียม ซึ่งแคลเซียมเป็นส่วนประกอบของกระดูก , ฟัน , กล้ามเนื้อ , และในระบบเลือด เกลือแร่ประเภทอื่นที่ร่างกายต้องการนอกเหนือจากแคลเซียม ได้แก่ โซเดียม , โพแทสเซียม , ฟอสฟอรัส , แมกนีเซียม , คลอไรท์ , เหล็ก , ไอโอดีน , ทองแดง , สังกะสี , ฟลูออไรท์ เป็นต้น แต่ละชนิดจะมีหน้าที่ต่างกัน ถ้าขาดก็จะมีผลเสียต่อร่างกาย ด้วยเหตุนี้ร่างกายจึงขาดเกลือแร่ไม่ได้ อาหารที่ให้สารอาหารเกลือแร่คืออาหารหมู่ 3 และหมู่ 4

แหล่งที่มา : http://www.oknation.net/blog/pim

ตาราง แสดงแหล่งอาหาร ความสำคัญและผลของการขาดแร่ธาตุบางชนิด

แร่ธาตุ
แหล่งอาหาร
ความสำคัญ
ผลจากการขาด
แคลเซียม
นม  เนื้อ ไข่ ผักสีเขียวเข้ม
สัตว์ที่กินทั้งเปลือกและกระดูก เช่น กุ้งแห้ง ปลา
เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกระดูกและฟัน ช่วยในการแข็งตัวของเลือด  ช่วยในการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อ
เด็กเจริญเติบโตไม่เต็มที่    ในหญิงมีครรภ์จะทำให้ฟันผุ
ฟอสฟอรัส
นม เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว
ผักบางชนิด เช่น เห็ดมะเขือเทศ
ช่วยในการสร้างกระดูกและฟัน
การดูดซึมคาร์โบไฮเดรต
การสร้างเซลล์ประสาท
อ่อนเพลีย
กระดูกเปราะและแตกง่าย
ฟลูออรีน
ชา อาหารทะเล
เป็นส่วนประกอบของสารเคลือบฟัน  ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ป้องกันฟันผุ
ฟันผุง่าย
แมกนีเซียม
อาหารทะเล
ถั่ว นม ผักสีเขียว
เป็นส่วนประกอบของเลือด และกระดูก ช่วยในการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
เกิดความผิดปกติของระบบ
ประสาทและกล้ามเนื้อ
โซเดียม
เกลือแกง ไข่ นม
ควบคุมปริมาณน้ำในเซลล์
ให้คงที่
เกิดอาการคลื่นไส้
เบื่ออาหาร ความดันเลือดต่ำ
เหล็ก
ตับ เนื้อสัตว์ ถั่ว ไข่
ผักสีเขียว
เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์บางชนิดและฮีโมโกลบิน
ในเม็ดเลือดแดง
โลหิตจาง  อ่อนเพลีย
ไอโอดีน
อาหารทะเล  เกลือสมุทร
เกลือเสริมไอโอดีน
เป็นส่วนประกอบของฮอร์โมนไทรอกซิน ซึ่งผลิตจาก
ต่อมไทรอยด์
ในเด็กทำให้สติปัญญาเสื่อม  ร่างกายแคระแกรน ในผู้ใหญ่
จะทำให้เป็นโรคคอพอก

แหล่งที่มา : http://secondsci.ipst.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=104:2010-10-27-03-55-57&catid=19:2009-05-04-05-01-56&Itemid=34

ไขมัน

 

ไขมัน คืออะไร
        อาหารที่เราบริโภคทุกวันนี้ มีสารอาหารที่เป็นประกอบที่สำคัญคือ โปรตีน คาร์โบไฮเดรท และไขมัน ไขมัน (Lipids) 
    เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานมากที่สุดคือประมาณ 9 แคลอรี่ต่อ 1 กรัม ไขมันมีในอาหารทั่วไปทั้งในพืชและเนื้อสัตว์ มากน้อยตามชนิดของอาหารต่างๆ กัน
 
    ไขมัน (LIPIDS) แบ่งตามวิทยาศาสตร์เคมีได้เป็น3กลุ่มใหญ่ๆ คือ คอเลสเตอรอล (Cholesterol) ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) และฟอสโฟไลปิดส์ (Phospholipids) และอื่นๆ อีกที่ไม่ค่อยสำคัญมากแต่ที่เรามันได้ยินคุ้นหูจากแพทย์บ่อยๆ คือ คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งแพทย์จะบอกแก่คนไข้ว่า ตรวจไขมันในเลือดให้ นั่นคือ ตรวจค่าของทั้งสองชนิดนั่นเอง ซึ่งค่าปกติของไขมันในเลือดคือ
- คอเลสเตอรอล
(Cholesterol) ประมาณ 150-250 mg/dl
- ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) ประมาณ 35-160 mg/dl
เรามาทำความเข้าใจกับโครงสร้างอย่างง่ายๆ ของกรดไขมันกันก่อน คือกรดไขมันจะประกอบด้วยธาตุ คาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจน ซึ่งโมเลกุลของธาตุทั้งสามนี้ จะเกาะกันเป็นลูกโซ่มากน้อยตามแต่ละชนิด ซึ่งมีประมาณ 40 ชนิด
ไขมันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
    1. กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated Fatty Acids) คือเป็นไขมันเต็มตัวแล้ว คือ ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจนจับกันเป็นลูกโซ่โดยสมบูรณ์ และไม่มีช่องว่างเหลือที่จะทำปฏิกิริยากับสารใดๆ ในร่างกายได้ เป็นกรดไขมันที่คาร์บอนยึดกันด้วยพันธะเดี่ยว มีจำนวนคาร์บอนตั้งแต่ 4–24 อะตอม ดังนั้น ไขมันชนิดนี้จะอยู่ในรูปของแข็งในอุณหภูมิปกติ ไขมันจำพวกนี้จะพบมากใน ไขมันสัตว์ เช่น เนื้อหมู วัว และไขมันจากกะทิ มะพร้าว เนย ไข่แดงและอื่นๆ กรดสเตียริก เป็น กรดไขมันอิ่มตัวมีสมบัติแข็งตัวง่าย มีจุดหลอมเหลวสูง ไม่เหม็นหืน เพราะไม่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ แต่จะย่อยยาก
 

 


    2. กรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated Fatty Acids) คือไขมันที่ธาตุ คาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจน จับกันยังไม่สมบูรณ์ นั่นคือ ยังมีช่องว่างในลูกโซ่เหลืออยู่ และพร้อมที่จะทำปฏิกิริยาและจับกับสารอื่นๆ ในร่างกายได้และพร้อมจะเปลี่ยนแปรสภาพเป็นสารอื่นๆ คาร์บอนบางอะตอมยึดเกาะกันด้วยพันธะคู่ จึงมีไฮโดรเจนในโมเลกุลน้อยกว่ากรดไขมันชนิดอิ่มตัว เช่น กรดโอเลอิกที่ในโมเลกุลมีคาร์บอน 18 อะตอม มีพันธะ 1 คู่ พบได้ในไขมันจากสัตว์และพืชซึ่งร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้เอง ส่วนกรดไขมันที่มีพันธะคู่ระหว่างอะตอมคาร์บอนมากกว่า คู่ เช่น กรดไลโนเลอิก ที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้ มาจากสารอาหารเท่านั้น จึงเรียกว่า กรดไขมันจำเป็น (essential fatty acids) นอกจากนี้กรดไขมันไม่อิ่มตัวสามารถเกิดปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชัน (hydrogenation) หรือปฏิกิริยาการเติมไฮโดรเจนเข้าไปบริเวณพันธะคู่ได้ ได้ พบมากในน้ำมันปลาแซลมอน น้ำมันเมล็ดพันธุ์บอเรจ น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส น้ำมันจมูกข้าวสาลี และอื่นๆ
 
     
    กรดไขมันไม่อิ่มตัวมีสมบัติแข็งตัวยาก มีจุดหลอมเหลวต่ำ หากทิ้งไว้ในอุณหภูมิปกติเป็นเวลานานจะเหม็นหืนได้ ทั้งนี้ในน้ำมันพืชจะมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวมากกว่าในน้ำมันสัตว์
    นอกจากไขมันชนิดต่าง ๆ ในข้างต้นแล้ว ยังมีไขมันที่มีความสำคัญต่อร่างกายอีกชนิดหนึ่ง คือ คอเลสเตอรอล (cholesterol) เป็นสารเริ่มต้นในการสร้างน้ำดีและฮอร์โมนเพศ ช่วยสร้างสารที่จะเปลี่ยนไปเป็นวิตามินดีเมื่อได้รับแสงอาทิตย์ และช่วยในการดูดซึมกรดไขมันที่ลำไส้เล็กและนำพากรดไขมันในเลือด ในร่างกายจะมีการสร้างและการสลายตัวของคอเลสเตอรอลเกิดขึ้นตลอดเวลา และมีการขับออกจากในรูปของน้ำดีปล่อยเข้าสู่ลำไส้เล็ก เพื่อช่วยย่อยไขมัน
 



ไขมันมีประโยชน์อย่างไร

 
    1. ไขมันเป็นอาหารสำคัญที่มีความจำเป็นต่อร่างกายและเป็น 1 ในอาหาร 5 หมู่ ที่มีประโยชน์ นอกเหนือจากโปรตีน คาร์โบไฮเดรท วิตามินและเกลือแร่
    2. ไขมันช่วยในการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมัน
(Fat soluble Vitamins) เช่น วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย
    3. ไขมันให้พลังงานแก่ร่างกายที่สูงที่สุดคือ 9 แคลอรี่ต่อ 1 กรัมของไขมัน ช่วยทำให้ร่างกายมีพลังงานที่จะทำงานและประกอบกิจวัตรประจำวัยได้ตามปกติ
    4. ไขมันช่วยปกป้องและกันความร้อน รวมทั้งคอยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ โดยทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อน
(Thermal Insulator) ของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังและอวัยวะที่อยู่ภายในร่างกาย
    5.ไขมันช่วยเป็นเสมือนกันชนให้ร่างกาย คือช่วยป้องกันการกระเทือนของอวัยวะภายในร่างกาย ที่เกิดจากแรงกระแทกหรือการเคลื่อนไหวอย่างแรงของร่างกาย ซึ่งคอยป้องกันการบาดเจ็บของอวัยวะภายในร่างกาย
    6. ไขมันเป็นส่วนประกอบสำคัญของเนื้อเยื่อประสาทนั่นคือ เส้นประสาทของคนเราจะมีไขมันเป็นส่วนประกอบในอัตราที่สูง โดยเฉพาะจะหุ้มเส้นประสาท ช่วยในการป้องกันเส้นประสาทให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อถูกสั่งจากสมองไปยังกล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย
    7. ไขมันเมื่อรวมกับโปรตีนก็คือ ไลโปโปรตีน
(Lipoproteins) จะเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะผนังเซลล์และไมโตคอนเดรีย ส่วนนี้มีประโยชน์สำหรับคนเรามาก เพราะร่างกายของเราประกอบเป็นตัวตนด้วยเซลล์หลายๆ ล้านเซลล์ และเซลล์ของร่างกายเรา จะผลิตทุกวันเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ นั่นคือ ถ้าขาดไขมัน ผนังเซลล์ของร่างกายเราก็จะอ่อนแอ เซลล์ที่ตายไปก็ไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้

โปรตีน

  โปรตีน

   


    โปรตีน    เป็นสารที่พบมากที่สุดในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปในเซลล์ของพืชและสัตว์มีโปรตีนอยู่มากกว่าร้อยละ 50 ของน้ำหนักแห้ง  โปรตีนเป็นสารชีวโมเลกุลที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่และมีโครงสร้างที่ซับซ้อน  ประกอบด้วยธาตุต่าง ๆ คือ  ธาตุคาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H)  ไนโตรเจน (N)  และในบางชนิดอาจมีกำมะถัน (S) และฟอสฟอรัส (P)  เป็นองค์ประกอบร่วมด้วย โปรตีนในร่างกายนอกจากจะมีบทบาทในการเผาผลาญให้พลังงานแก่ร่างกายแล้ว ยังช่วยในการเจริญเติบโต เป็นส่วนประกอบของกล้ามเนื้อ ยังช่วยในการเจริญเติบโต  เป็นส่วนประกอบของกล้ามเนื้อ และช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์และฮอร์โมนต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมระบบต่างๆ ในร่างกายให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

        โปรตีนเป็นสารอาหารที่พบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดทั้งที่เป็นพืชและสัตว์  โดยจะพบมากในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ต่างๆ เช่น เนื้อปลา เนื้อหมู ไข่ นม เนยจากสัตว์  เป็นต้น ส่วนในพืชจะพบมากในเมล็ดพืชตระกูลถั่วเช่น ถั่วลิสง ถั่วเหลือง  เป็นต้น
 

 


            สมบัติของโปรตีน
  1. สารชีวโมเลกุลประเภทโปรตีนมีสมบัติและความสามารถในการเกิดปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ ดังนี้
  2. โปรตีนไม่ละลายน้ำ  แต่อาจมีบางชนิดที่สามารถละลายน้ำได้บ้างเล็กน้อย
  3. มีสถานะเป็นของแข็ง
  4. เมื่อถูกเผาไหม้จะมีกลิ่นเหม็น
  5. สามารถเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส (Hydrolysis) โดยมีกรด  ความร้อน  หรือเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา  ทำให้เกิดเป็นกรดอะมิโนจำนวนมาก
                                                           
    โปรตีน + น้ำ  -----------> กรด + กรดอะมิโนจำนวนมาก
ุ         6. เมื่อโปรตีนได้รับความร้อน  หรือเมื่อสัมผัสกับสารละลายกรด  หรือสารละลายเบส  จะทำให้โครงสร้างของโปรตีนเสีย              ไป  ไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิม  เรียกกระบวนการนี้ว่า  การแปลงสภาพโปรตีน  (denaturation of protein)
         7. โปรตีนสามารถเกิดปฏิกิริยากับคอปเปอร์ (II) -ซัลเฟต  (CuSO4) ในสภาพที่เป็นเบส เกิดเป็นตะกอนสีม่วง  สีม่วง                 อมชมพู หรือสีน้ำเงิน ซึ่งปฏิกิริยานี้สามารถใช้ในการทดสอบโปรตีนได้

    
                    หน้าที่
            โปรตีนหลายชนิดทำหน้าที่เป็นเอนไซม์หรือหน่วยย่อยของเอนไซม์
  1. โปรตีนทำหน้าที่ทางด้านโครงสร้าง เช่น ระบบเส้นใยของเซลล์ (cytoskeleton) ผม เส้นไหม
  2. โปรตีนที่ควบคุมการเคลื่อนไหว เช่น แอกติน ไมโอซิน
  3. เป็นภูมิคุ้มกันคอยปกป้องร่างกายจากสิ่งแวดล้อม เช่น แอนติบอดี
  4. ขนส่งสารภายในระบบร่างกาย เช่น ฮีโมโกลบิน
  5. เป็นแหล่งสำรองพลังงานยามขาดแคลน เช่นโปรตีนในเมล็ดข้าวและน้ำนม
  6. โปรตีนที่เป็นฮอร์โมน
  7. โปรตีนให้ความหวานในพืช
  8. โปรตีนป้องกันการแข็งตัวของเลือดในปลาที่อยู่ในแถบขั้วโลก
  9. โปรตีนช่วยสร้างเซลล์เนื้อเยื่อใหม

                                                                                                                                  
                  องค์ประกอบของโปรตีน
 
    โปรตีนเป็นสารประกอบที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่  เกิดจากโมเลกุลของกรดอะมิโน  (amino acid)  จำนวนมากมาสร้างพันธะเชื่อมต่อกันจนเกิดเป็นสายยาว  โดยกรดอะมิโนมีลักษณะเป็นสารชีวโมเลกุลซึ่งประกอบด้วยหมู่ฟังก์ชันทั้งที่เป็นหมู่อะมิโน (-NH2) มีสมบัติเป็นเบส  และหมู่คาร์บอกซิล (-COOH)  ซึ่งมีสมบัติเป็นกรด
    กรดอะมิโนต่าง ๆ จะมีการสร้างพันธะเชื่อมต่อกันเป็นสายยาวจนเกิดเป็นโมเลกุลของกรดอะมิโนต่าง ๆ ว่า พันธะเพปไทด์ (peptide bond)  ซึ่งเป็นพันธะที่เกิดขึ้นระหว่างหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโนของกรดอะมิโนแต่ละโมเลกุล 
    เนื่องจากโปรตีนเกิดจากกรดอะมิโนจำนวนมากมาเชื่อมต่อกัน ดังนั้นสมบัติของโปรตีนจึงมีความสัมพันธ์กับชนิดของกรดอะมิโนที่เป็นองค์ประกอบ  สัดส่วนของกรดอะมิโนแต่ละชนิด  และลำดับการเรียงตัวของกรด  ซึ่งโปรตีนในธรรมชาติมีกรดอะมิโนอยู่ 20 ชนิด  ดังนั้นจึงสามารถเกิดเป็นโปรตีนชนิดต่าง ๆ มากมาย  โดยโปรตีนที่แตกต่างกันก็จะมีคุณสมบัติและบทบาทต่อร่างกายที่แตกต่างกันด้วย


     
               โครงสร้างของโปรตีน
 
                    ลำดับของกรดอะมิโนจะเป็นตัวกำหนดโครงสร้างและการทำงานของโปรตีนนั้นๆ โดยทั่วไป โปรตีนมีโครงสร้างสามมิติสี่ระดับด้วยกันคือ
  • โครงสร้างปฐมภูมิ เป็นโครงสร้างที่แสดงพันธะระหว่างกรดอะมิโนแต่ละตัว
  • โครงสร้างทุติยภูมิ เป็นโครงสร้างที่แสดงการจัดเรียงตัวของกรดอะมิโนที่อยู่ใกล้กัน โปรตีนทุกชนิดจะมีโครงสร้างระดับนี้ โดยทั่วไปมีสองแบบคือ แบบ อัลฟาเฮลิก สายเพปไทด์ขดเป็นเกลียว กับแบบเบตา สายเพปไทด์อยู่ในรูปซิกแซก
  • โครงสร้างตติยภูมิ แสดงการจัดตัวของกรดอะมิโนตลอดทั้งสาย พบในโปรตีนที่เป็นก้อน การจับตัวเป็นกลุ่มก้อนของสายโพลีเพปไทด์นั้นขึ้นกับลำดับกรดอะมิโนและสารอื่นๆที่เข้ามาจับ
  • โครงสร้างจตุยภูมิ แสดงการจับตัวระหว่างสายโพลีเพปไทด์ พบในโปรตีนที่ประกอบด้วยหน่วยย่อย (subunit) โดยแต่ละหน่วยย่อยคือสายโพลีเพปไทด์หนึ่งเส้น การจัดตัวขึ้นกับลำดับกรดอะมิโนและสารอื่นๆที่เข้ามาจับเช่นเดียวกัน



 


        
            กรดอะมิโน

                เมื่อเราบริโภคอาหารที่มีโปรตีน โปรตีนเหล่านั้นจะถูกย่อยสลายจนกระทั่งกลายเป็นกรดอะมิโน  แล้วถูกดูดซึมเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย  เพื่อนำไปสังเคราะห์โปรตีนที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย  ดังนั้นกรดอะมิโนทุกชนิดจึงมีความจำเป็นต่อร่างกายอย่างยิ่ง  แต่เนื่องจากร่างกายของเราสามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนได้เอง 12 ชนิด  ส่วนอีก ชนิดเป็นกรดอะมิโนที่ต้องได้รับจากอาหาร  ดังนั้นจึงสามารถแบ่งชนิดกรดอะมิโนได้เป็น ชนิด ตามความจำเป็นในการบริโภค  ดังนี้
                
    1)  
กรดอะมิโนจำเป็น  (Essential amino acids) เป็นกลุ่มของกรดอะมิโนที่ร่างกายสังเคราะห์เองไม่ได้  มีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย  จำเป็นต้องได้รับจากอาหารต่าง ๆ ได้แก่  
 
  • เทไทโอนีน (Methionine) 
  • ทริโอนีน (Threonine)
  •  ไลซีน (Lysine)                                                                                                                                                             
  •                                         
     เวลีน (Valine)
  •  ลิวซีน (Leucine)
  •  ไอโซลิวซีน (Isoleucine) 
  • เฟนิลอะลานีน (Phenylalanine)  ทริปโตเฟน (Tryptophan)
    ส่วนในเด็กทารกจะต้องการรับกรดอะมิโนเพิ่มอีก ชนิด  คือ  ฮิสติดีน (Histidine)  เพื่อช่วยในการเจริญเติบโต
                    2)  กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น  (Non-essential amino acids)  เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสังเคราะห์เองได้  มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย  ร่างกายไม่ค่อยคลาดแคลน
       
ร่างกายของคนเราจะนำกรดอะมิโนต่าง ๆ มาใช้สังเคราะห์เป็นโปรตีนซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไปตามบทบาทหน้าที่ของโปรตีนชนิดนั้น  ดังตัวอย่างเช่น
   -  
คอลลาเจน  (Collagen)  เป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับระบบโครงสร้างร่างกาย  มีหน้าที่ในการสร้างเอ็นและกระดูกอ่อน
   -  
เคราติน (Keratin)  เป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับระบบโครงสร้างร่างกาย  มีหน้าที่ในการสร้างขน  ผม  เล็บ  และผิวหนัง
   -  
อินซูลิน (Insulin)  เป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับระบบฮอร์โมน  มีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด
   -  
แอคติน  (Actin)  และไมโอซิน (Myosin)  เป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับระบบการเคลื่อนไหวของร่างกาย  มีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ
  -  
ฮีโมโกลบิน  (Hemoglobin)  เป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับระบบการลำเลียงสารในกระแสเลือด  มีหน้าที่ลำเลียงแก๊สออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย
  -  
อิมมูโนโกลบูลิน  (Immunoglobulin)  เป็นโปรตีนที่เกี่ยวกับระบบคุ้มกันของร่างกาย  มีหน้าที่การสร้างภูมิคุ้มกัน


        โปรตีนคอนจูเกต
 
                โปรตีนบางชนิดจะมีหมู่อื่นๆนอกจากกรดอะมิโนเข้ามาจับ โปรตีนนี้เรียกว่าโปรตีนคอนจูเกต (conjugated protein) ส่วนหมู่ที่มาจับเรียกว่าหมู่พรอสทีติก (prosthetic group) ตัวอย่างโปรตีนเหล่านี้ได้แก่
  1. ไลโปโปรตีน โปรตีนจับกับไขมัน
  2. ไกลโคโปรตีน โปรตีนจับกับคาร์โบไฮเดรต
  3. ฟอสโฟโปรตีน โปรตีนจับกับหมู่ฟอสเฟต
  4. ฮีโมโปรตีน โปรตีนจับกับฮีม (heme)
  5. ฟลาโวโปรตีน โปรตีนจับกับฟลาวิน นิวคลีโอไทด์ (Flavin nucleotide) เช่น ซักซิเนต ดีไฮโดรจีเนส (succinate dehydrogenase)
  6. เมทัลโลโปรตีน โปรตีนจับกับโลหะเช่น เฟอร์ริทิน (จับกับ Fe) อัลกอฮอล์ ดีไฮโดรจีเนส (จับกับ Zn) เป็นต้น
 
 บทบาทและหน้าที่ของโปรตีน
 
                    1. ให้กรดแอมิโน ซึ่งร่างกายจะนำไปสร้างโปรตีนในเซลล์และเนื้อเยื่อต่าง ๆ ตลอดชีวิต
                    2. สร้างสารที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย ได้แก่ เอนไซม์ ฮอร์โมน และสารภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะช่วยควบคุมปฏิกิริยาต่าง ๆ ให้ดำเนินไปตามปกติ
                    3. รักษาสภาพแวดล้อมภายในร่างกายให้คงที่ เช่น ค่าความเป็นกรด–ด่าง (pH) โดยโปรตีนในเลือดจะช่วยให้เลือดมี pH คงที่หรือเป็นด่างเล็กน้อย ซึ่งเป็นสภาพที่เหมาะแก่การทำงานของอวัยวะ อีกทั้งยังช่วยรักษาสมดุลของน้ำในร่างกายและควบคุมความเข้มข้นของเลือดและน้ำให้คงที่
                    4. ให้พลังงานแก่ร่างกาย (โปรตีน 1 กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี) เมื่อร่างกายได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตและไขมันไม่เพียงพอ จะมีการนำโปรตีนที่สมสะอยู่ในกล้ามเนื้อมาผลาญให้เกิดพลังงาน
                    5. ช่วยในการขนส่งสารต่าง ๆ ในเลือด เช่น ฮอร์โมน วิตามิน ไขมัน และเกลือแร่ เป็นต้น
บทบาทและหน้าที่ของโปรตีนยังมีอีกหลายประการ เช่น เป็นส่วนประกอบของเฮโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่นำออกซิเจนไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นส่วนประกอบของไมโอซิน (myosin) และแอกทิน (actin) ในกล้ามเนื้อ โดยมีสภาพเป็นโปรตีนขนาดเล็กเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อ
 
ขอบคุณที่มา :https://sites.google.com/site/scienceinging/bth-thi-2-sar-xinthriy/2-2-portin?tmpl=%2Fsystem%2Fapp%2Ftemplates%2Fprint%2F&showPrintDialog=1

คาร์โบไฮเดรต (carbohydrate)

าร์โบไฮเดรต (carbohydrate)
 คาร์โบไฮเดรต (carbohydrate) เป็น สารชีวโมเลกุลที่ทำหน้าที่สะสมพลังงาน ที่พบในชีวิตประจาวันทั่วไปได้แก่ น้าตาล แป้ง เซลลูโลส และไกลโคเจน โดยที่ส่วนใหญ่พบแป้งและเซลลูโลสในพืช ส่วนไกลโคเจนพบในเซลล์เนื้อเยื่อ น้าไขข้อและผนังเซลล์ของสัตว์
คาร์โบไฮเดรต คือสารประกอบพวกพอลิไฮดรอกซีแอลดีไฮด์ (poly hydroxy aldehyde) หรือพอลิไฮดรอกซีคีโตน (polyhydroxy ketone) มีสูตรเอมพิริคัลเป็น Cn(H2O)m เช่น กลูโคส m = n = 6 จึงมีสูตรโมเลกุลเป็น C6H12O6 คา ว่าคาร์โบไฮเดรตยังครอบคลุมไปถึงอนุพันธ์ที่เกิดจากไฮโดรลิซิสและอนุพันธ์ อื่นของสารทั้งสองจาพวกอีกด้วย คาร์โบไฮเดรตพบมากในพืชโดยเกิดผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis) ประเภทของคาร์โบไฮเดรต แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
น้ำตาลชั้นเดียว (Monosaccharide, simple sugar)
เป็น คาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กที่สุด ร่างกายไม่สามารถย่อยให้เล็กลงกว่านี้ได้อีก เมื่อรับประทานเข้าไปสามารถ ดูดซึมได้ทันที น้ำตาลชั้นเดียวทีสำคัญคือน้ำตาลเฮกโซส (hexose) ซึ่งมี 3 ชนิด คือ
§ กลูโคส (glucose) มี อยู่ในธรรมชาติทั่วไป ในพืช ผัก ผลไม้ องุ่น ข้าวโพด น้ำผึ้ง ทางการแพทย์ใช้กลูโคสเป็นแหล่งพลังงานที่ต้องการใช้อย่างรวดเร็ว เช่น ในคนป่วยที่อ่อนแอ น้ำตาลกลูโคสเป็นน้ำตาลชนิดเดียวในกระแสเลือดของมนุษย์ที่ได้จากการ ย่อยคาร์โบไฮเดรตจึงเรียกว่า น้ำตาลในเลือด (blood sugar) กลูโคส จัดเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ธรรมดาที่สุด ใช้ในกระบวนการหายใจ อาจกล่าวได้ว่าคาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารหลักในการจัดหาพลังงานให้สิ่งมี ชีวิตได้ อย่างไรก็ตามทั้งๆที่กลูโคสเป็นแหล่งพลังงานเบื้องต้น แต่สัตว์ มีการสะสมคาร์โบไฮเดรตเล็กน้อยเท่านั้น คือสะสมไกลโคเจนไว้ในตับ และกล้ามเนื้อด้วยปริมาณจำกัด ถ้ามีการออกกำลังมากไกลโคเจนที่สะสมไว้จากอาหารที่รับประทานจะหมดไป เซลล์จำนวนมากใช้ไขมันและโปรตีน ในการสร้างพลังงานได้ อย่างไรก็ดี เนื้อเยื่อประสาทใช้กลูโคสอย่างเดียวเท่านั้น ในสัตว์เพื่อให้น้ำตาลกลูโคสมีอยู่ตลอดเวลา จำเป็นต้องเปลี่ยนโมเลกุลของไขมันและโปรตีนเป็นคาร์โบไฮเดรตได้
§ ฟรุกโทส (fructose) มีรสหวานกว่าน้ำตาลชนิดอื่น พบในเกสรดอกไม้ ผลไม้ ผัก น้ำผึ้ง กากน้ำตาล ปนอยู่ในกลูโคส ในร่างกายได้จากการย่อยน้ำตาลทราย
§ กาแลกโทส (galactose) ไม่เกิดในรูปอิสระในธรรมชาติ ได้จากการย่อยแลกโทส หรือน้ำตาลนม ซึ่งมีอยู่ในอาหารพวกนม และผลิตผลของนมทั่วๆไป
น้ำตาลสองชั้น (Disaccharide, double sugar) เป็นน้ำตาลที่ได้จากการรวมน้ำตาลชั้นเดียว 2 โมเลกุล เมื่อกินน้ำตาล 2 ชั้นเข้าไป ต้องถูกย่อยโดยเอนไซม์ ในทางเดินอาหารได้น้ำตาลชั้นเดียวก่อนจึงจะดูดซึมได้ คาร์โบไฮเดรตประเภทนี้ที่สำคัญคือ
 
§ ซูโครสหรือน้ำตาลทราย (sucrose) เป็นน้ำตาลที่เรารับประทานกัน มากกว่าคาร์โบไฮเดรตอื่นๆ พบว่าคนไทยบริโภคน้ำตาลประมาณคนละ 10 ก . ก . / ปี ใช้ประกอบอาหารเกือบทุกชนิด เตรียมได้จากอ้อยและหัวบีท เมื่อซูโครสแตกตัวหรือถูกย่อยจะให้น้ำตาลกลูโคสกับฟรุกโทสอย่างละ 1 โมเลกุล
§ มอลโทส (moltose) ไม่เกิดในรูปอิสระในธรรมชาติได้จากการย่อยแป้งในเมล็ดข้าวที่กำลังงอกจะมีเอนไซม์จะย่อยมอลโทส ให้เป็นกลูโคส 2 โมเลกุล
§ แลกโทส (lactose) ไม่ พบในพืช มีอยู่ในน้ำนม เรียกว่า น้ำตาลนม แลกโทสต่างกับน้ำตาลสองชั้นตัวอื่นที่ว่า มีความหวานน้อยกว่า ละลายน้ำได้น้อยกว่า ย่อยได้ช้ากว่าและบูด (ferment) ได้ยากกว่าซูโครส และมอลโทส เมื่อย่อยจะให้กลูโคส กับกาแลกโทส อย่างละ 1 โมเลกุล
น้ำตาลหลายชั้น หรือพวกไม่ใช่น้ำตาล (polysaccharide)
เป็นคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่และซับซ้อน ประกอบด้วยน้ำตาลชั้นเดียวเป็นจำนวนมาก มารวมกัน ไม่มีรสหวาน ที่สำคัญ คือ 

                             1. แป้ง (starch) เป็น คาร์โบไฮเดรตที่พบในพืช สะสมอยู่ในเมล็ด ราก หัว ลำต้น เมล็ดเป็นแหล่งธัญพืชสำคัญ โมเลกุลของแป้งเกิดจากน้ำตาลกลูโคสต่อกันเป็นจำนวนมากในรูปที่เป็นเส้นตรง อะมิโลส (amylose) และกิ่งก้านอะมิโลเพกทิน (amylopectin) เมื่อแป้งถูกย่อยถึงขั้นสุดท้ายจะได้น้ำตาลกลูโคส        
                             2. ไกลโคเจน (glycogen) เป็น น้ำตาลหลายชั้น พบในตับ และกล้ามเนื้อสัตว์ บางทีเรียกว่า แป้งสัตว์ มีส่วนประกอบคล้ายแป้ง แต่มีกิ่งก้านมากกว่า เมื่อแตกตัวออกจะได้กลูโคส ไม่พบในพืช

                             3. เดกซ์ทริน (dextrin) ได้ จากการย่อยแป้ง อาหารที่มีเดกซ์ทรินอยู่บ้าง ได้แก่ น้ำผึ้ง โดยมากปนอยู่กับคาร์โบไฮเดรตอย่างอื่น เดกซ์ทรินเมื่อแตกตัว หรือถูกย่อยต่อไปจะให้มอลโทส และท้ายที่สุดจะให้กลูโคส แป้ง เดกซ์ทริน มอลโทส กลูโคส


4. เซลลูโลส (cellulose) บาง ทีเรียกว่าใยหรือกาก เป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์พืช มีมากในใบ ก้าน เปลือก คนไม่สามารถย่อยเซลลูโลสได้ ช่วยป้องกันท้องผูก สัตว์พวกวัว ควาย มีเอนไซม์ที่ย่อยเซลลูโลสได้ เซลลูโลสเมื่อย่อยจะแตกตัวออก ให้น้ำตาลกลูโคส คาร์โบไฮเดรตมักรวมกับโปรตีน เป็นสารประกอบอื่น เช่น มิวซิน (mucin) คอลลาเจน (collagen) และอินเตอร์เฟอรอน (interferon) มิ วซินพบมากในสารที่ใช้ป้องกัน เช่น ในน้ำลาย ไข่ขาว และระบบหายใจ ในสัตว์หลายชนิดรวมทั้งคนด้วย ส่วนคอลลาเจนพบในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน จึงพบได้ทั่วร่างกาย สำหรับอินเตอร์เฟอรอน เป็นสารที่ช่วยลดไวรัส ที่บุกรุกเข้าไปในเซลล์ นอกจากนี้สารประกอบระหว่างคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนตัวอื่นๆยังมีอีกหลายชนิด
หน้าที่ และประโยชน์ของคาร์โบไฮเดรต
ให้พลังงานและความร้อน คาร์โบไฮเดรตเป็นบ่อเกิดของพลังงานที่มีราคาถูกที่สุด คาร์โบไฮเดรตทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลชั้นเดียว น้ำตาลสองชั้น หรือแป้งให้ พลังงานเท่ากันหมด คือ 1 กรัมให้พลังงาน 4 แคลอรี ยกเว้นเซลลูโลสที่ดูดซึมไม่ได้
ช่วยให้ไขมันเผาไหม้สมบูรณ์ ไขมันในร่างกายจะเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ถ้ารับประทานคาร์โบไฮเดรตไม่พอ ทำให้เกิดสารที่เป็นโทษแก่ร่างกายขึ้นในเลือดและ ในปัสสาวะ (ketone bodies) ซึ่ง ถ้าเป็นเช่นนี้นานๆในรายที่เป็นเบาหวานขั้นรุนแรง จะทำให้ความเป็นกรดด่างของร่างกายเปลี่ยนไป ร่างกายมีความเป็นกรดมากไปอวัยวะต่างๆทำงานผิดปกติ อาจรุนแรงถึงขั้นหมดสติ และตายได้
ช่วยสงวนหรือประหยัดการใช้โปรตีนในร่างกาย ถ้าร่างกายได้ พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต และไขมันไม่เพียงพอ ร่างกายจะนำโปรตีนมาเผาผลาญให้เกิดพลังงาน ซึ่งเป็นการไม่ประหยัด เพราะโปรตีนเป็นสารอาหารที่มีราคาแพง ควรสงวนไว้ใช้ประโยชน์ในการเสริมสร้างและซ่อมแซมร่างกาย ซึ่งสารอาหารอื่นทำแทนไม่ได้
ช่วยขับถ่าย เซลลูโลสช่วยกระตุ้นในการทำงานของลำไส้ และ ป้องกันการท้องผูกและปัจจุบันเชื่อกันว่าช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งที่ทวาร หนักได้ แลกโทสเป็นอาหารที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดกรดในลำไส้ของทารกการเกิดกรด ดังกล่าวนี้ช่วยการ ดูดซึมของแคลเซียมทำให้ทารกเจริญเติบโตได้ดี เดกซ์ทรินเป็นอาหารที่เหมาะแก่แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ แบคทีเรียพวกนี้ใช้พลังงานจากเดกซ์ทรินในการสังเคราะห์วิตามินบีต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
ช่วยรักษาสภาพ สภาวะน้ำตาลในเลือดให้คงที่ คือ 70-100 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร ทำงานปกติ เช่นคนปกติระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ เป็นอาการของโรคเบาหวาน ถ้าต่ำผิดปกติทำให้เกิดอาการชักหรือช็อกหรือหมดสติ ทั้งนี้เพราะกลูโคสเป็นอาหารสำคัญของเซลล์ และเนื้อเยื่อในสมอง เซลล์ของสมองต่างจากเซลล์อื่นในร่างกายที่ว่าใช้กลูโคสได้อย่างเดียวเป็นบ่อ เกิดของพลังงาน ไม่อาจใช้ไขมันมาเผาผลาญให้พลังงานเหมือนเซลล์อื่นได้ ดังนั้นถ้าน้ำตาลไปเลี้ยงสมองไม่พอจะทำให้เกิดอาการช็อก หรือหมดสติได้ ระดับน้ำตาลในเลือดยังช่วยควบคุมการบริโภคอาหารของมนุษย์ ถ้าระดับน้ำตาลใน เส้นเลือดแดงสูงกว่าในเส้นเลือดดำมากแสดงว่ามีคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายใช้ ประโยชน์ได้อยู่เป็นจำนวนมาก (vailable หรือ utilization) จะ รู้สึกอิ่ม แต่ถ้าระดับน้ำตาลในเส้นเลือดแดงต่ำเกือบเท่าเส้นเลือดดำ แสดงว่ามีคาร์โบไฮเดรตที่ใช้ได้น้อย หรือเก็บไว้น้อยในร่างกาย จะทำให้รู้สึกหิว (hunger)
ช่วยทำลายพิษของสารบางอย่าง สารเคมีบางอย่างเข้าไปในร่างกายโดยบังเอิญ หรือติดไปกับอาหาร เมื่อไปที่ตับ ตับจะกำจัดสารพิษโดยทำปฎิกิริยากับสารพวกคาร์โบไฮเดรตให้กลายเป็นสารที่ไม่ มีพิษ ช . คาร์โบไฮเดรตที่เหลือใช้ในร่างกาย สามารถเปลี่ยนไปเป็นไขมัน และกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นแก่ร่างกาย
อาหารพวกคาร์โบไฮเดรต ยังให้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น เมล็ดข้าวมีวิตามินบี ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ร่างกาย ในสัตว์บางพวกมีเอนไซน์เปลี่ยนกลูโคสให้เป็นวิตามินซี ไม่ต้องอาศัยวิตามินซีจากอาหาร อาหารคาร์โบไฮเดรตบางตัวเมื่อหุงต้มช่วยแต่ง กลิ่น รส และสี ให้สารอื่น เช่น น้ำตาลไหม้ (caramel) ใช้เป็นสารปรุงแต่งอาหารได้ ไกลโคไซด์ (glycoside) ซึ่ง เป็นสารที่มีคาร์โบไฮเดรตในโมเลกุล และมีอยู่ในพืชหลายชนิดนั้นนำมาใช้เป็นยา และสาร แต่งรสอาหารให้หวานได้ ปัจจุบันกำลังมีการวิจัยใช้สารพวกไกลโคไซด์ เป็นสารแต่งรสอาหารให้หวานแทนน้ำตาลเทียมพวกไซคลาเมท (cyclamate) ซึ่งสงสัยกันว่าเป็นพิษต่อร่างกาย และ ไม่ควรใช้กับอาหาร
 IUPAC-IUBMB Joint Commission on Biochemical Nomenclature (JCBN) : Carbohydrate Nomenclature

อาหาร

ความหมายของอาหาร 

       อาหาร หมายถึง สิ่งที่เรารับประทานเข้าไปแล้วทำให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายในด้าน ต่างๆ ไม่ทำให้เกิดโทษ เช่น เนื้อสัตว์ ข้าว แป้ง ผัก ผลไม้ นม ฯลฯ ยกเว้นยารักษาโรค

ความหมายของอาหาร ( มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 ) 


     อาหาร คือ วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม ดม หรือนำเข้าสู่ร่างกายด้วยวิธีการใดๆ หรือรูปลักษณะใดๆ แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท หรือเสพย์ติดให้โทษตามกฎหมาย
     อาหาร คือ วัตถุประสงค์ที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารรวมถึงวัตถุเจือปนอาหาร สีและเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส




        สารอาหาร หมายถึง สารที่ได้รับจากอาหาร ที่รับประทานเข้าไปในร่างกายแล้ว จะนำไปใช้ประโยชน์ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ให้พลังงานในการดำรงชีวิต เป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อในส่วนต่างๆของ ร่างกาย

การจำแนกสารอาหารตามหลักโภชนาการ สามารถแบ่งได้เป็น 5 หมู่ คือ

    อาหารหมู่ที่ 1 กลุ่มโปรตีน ได้แก่ อาหารจำพวก เนื้อ นม ไข่ ถั่วเมล็ดต่างๆ อาหารในหมู่นี้จะมีสารโปรตีนสูง เมื่อร่างกายย่อยแล้วจะให้สารอาหารประเภทโปรตีน ซึ่งให้ประโยชน์ต่อร่างกายในด้านการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยสร้างเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย ให้พลังงาน และช่วยควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย ในแต่ละวันมนุษย์เราต้องการสารโปรตีนในปริมาณ 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม


    อาหารหมู่ที่ 2 กลุ่มคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ อาหารจำพวกแป้ง เผือก มัน น้ำตาล อาหารหมู่นี้เมื่อร่างกายย่อยแล้วจะให้สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต และเปลี่ยนสารคาร์โบไฮเดรตให้เป็นพลังงานที่ใช้ทำกิจกรรมต่างๆ และให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย


    อาหารหมู่ที่ 3 กลุ่มเกลือแร่หรือแร่ธาตุต่างๆ ได้แก่ อาหารจำพวกผักใบเขียว และพืชผักอื่นๆ แร่ธาตุเป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการและขาดไม่ได้ เพราะแร่ธาตุบางชนิดเป็นส่วนประกอบของอวัยวะและกล้ามเนื้อบางอย่าง เช่น กระดูก ฟัน เลือด บางชนิดเป็นส่วนของสารต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตในร่างกาย เช่น ฮอร์โมน เฮโมโกลบิน เอนไซม์ ฯลฯ นอกจากนี้ แร่ธาตุยังช่วยในการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ของร่างกายให้ทำหน้าที่ปกติ เช่น ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท การแข็งตัวของเลือด ช่วยควบคุมสมดุลของน้ำในการไหลเวียนของของเหลวในร่างกาย ที่สำคัญช่วยให้ระบบการย่อยและการขับถ่ายเป็นปกติ

    อาหารในหมู่นี้มีในพืช ผัก ชนิดต่างๆ ทั้งผักใบเขียว และสีต่างๆ เช่น สีแดง สีเหลือง สีม่วง สีขาว ฯลฯ ซึ่งมีทั้งพืชผักที่เรารับประทาน ใบ ดอก ผล ลำต้น หัว หรือ รับประทานได้ทุกส่วน ซึ่งจะให้คุณค่าอาหารที่แตกต่างกัน เช่น ผักตำลึง ดอกแค ฟักทอง แครอท ฯลฯ

    อาหารหมู่ที่ 4 กลุ่มวิตามิน ได้แก่ อาหารจำพวกผลไม้ต่างๆ อาหารหมู่นี้เมื่อร่างกายย่อยแล้วจะให้สารอาหารประเภทเกลือแร่และวิตามิน คล้ายกับอาหารหลักหมู่ที่ 3 ซึ่งให้ประโยชน์ต่อร่างกายในด้านบำรุงสุขภาพของผิวหนังให้สดชื่น บำรุงสุขภาพปาก เหงือก และฟัน ช่วยให้ระบบการย่อยและการขับถ่ายเป็นปกติ อาหารในหมู่นี้นอกจากจะให้วิตามิน เกลือแร่ แล้วยังให้กากใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่ายที่เป็นปกติ ทำให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้ตามปกติ


    อาหารหมู่ที่ 5 กลุ่มไขมัน ได้แก่ อาหารจำพวกไขมันจากพืชและสัตว์ เช่น นม เนย ชีส น้ำมันพืช น้ำมันหมู เมื่อร่างกายได้รับไขมันที่กินเข้าไปแล้วจะเปลี่ยนให้เป็นพลังงาน ไขมันทำหน้าที่ให้ความอบอุ่นและเป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย ถ้าเรารับประทานแต่พอดี จะทำให้ระบบการทำงานภายในเป็นปกติ ไขมันยังช่วยปกป้องเซลล์และห่อหุ้มอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะจะห่อหุ้มเส้นประสาทช่วยในการป้องกันเส้นประสาทให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    นอกจากนี้ แล้วไขมันยังทำหน้าที่เป็นตัวทำละลายวิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค ที่ร่างกายรับจากอาหาร ไขมันเป็นอาหารที่ย่อยยาก ร่างกายจะต้องใช้เวลาในการย่อยสลายนานกว่าอาหารกลุ่มอื่นๆ ร่างกายของมนุษย์เราต้องการไขมันวันละไม่มากในปริมาณที่แตกต่างกันไปตามวัย


การ แบ่งสารอาหารโดยใช้เกณฑ์การให้พลังงานของสารอาหาร จะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

  • กลุ่มสารอาหารที่ให้พลังงาน ได้แก่ คาร์โบไฮเดรท โปรตีน และไขมัน
  • กลุ่มสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน ได้แก่ เกลือแร่ และ วิตามิน
     สารอาหาร คือ “ องค์ประกอบของสารประกอบทางเคมีของธาตุต่างๆ ที่มีอยู่ในอาหารที่เรากินเข้าไป สารอาหารมีโครงสร้างโมเลกุลเฉพาะตัว เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อาหารแต่ละชนิดประกอบด้วยโมเลกุลของสารอาหารหลายๆ ตัว ” ร่างกายเราต้องการสารอาหารกว่า 40 ชนิด และเพื่อให้ง่ายอีกเช่นกัน เราจึงจัดเป็นสารอาหารออกเป็นพวกๆ ที่สำคัญมี 6 จำพวก ได้แก่ สารอาหาร คาร์โบไฮเดรท , โปรตีน , ไขมัน , วิตามิน , เกลือแร่ , และน้ำ สารอาหารแต่ละชนิดมีหน้าที่เด่นเฉพาะแตกต่างกัน